What are simulation games?
หลายคนคงเคยสงสัยว่า simulation games คืออะไรวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ simulation games กันนะค่ะ
simulation ในภาษาไทยแปลได้ว่า "สถานการณ์จำลอง" หมายถึง สถานการณ์หรือกระบวนการจริงเพียงบางส่วน ที่นำมาดัดแปลงจากความเป็นนามธรรม ทำให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยปกติผู้ร่วมแสดงในสถานการณ์จำลองจะแสดงบทบาทในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้น
เกม (Game) หมายถึง การละเล่นชนิดหนึ่งซึ่งอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความไม่แน่ใจที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ส่วนนักจิตวิทยาทั้งหลายต่างเชื่อว่า เกมหรือการละเล่นจะช่วยให้มนุษย์เกิดความรู้ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้ และการละเล่นจะช่วยพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะส่วนหนึ่งของชีวิตขึ้นอยู่กับการละเล่นด้วย ในสังคมของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ได้ใช้การละเล่นในการสอนทักษะเพื่อความอยู่รอด สรุปว่า การละเล่นจัดเป็นกลไกสำคัญ ในการพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ดังนั้น simulation games จึงแปลได้ว่า เกมสถานการณ์จำลอง
เกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Games) หมายถึงการผสมผสานระหว่างการแสดงบทบาทเข้ากับเกมซึ่งมีกฎเฉพาะ และอาจคล้ายคลึงกับความเป็นจริงมากหรือน้อยแล้วแต่สถานการณ์ และอาจมีการแข่งขันรวมอยู่ด้วย หรือไม่ก็ได้ดังนั้น
Simulation Games จึงเป็นเกมจำลองสถานการณ์ในชีวิตจริงที่พยายามนำเหตุการณ์หรือประสบการณ์จริงมาคัดลอกและออกแบบพัฒนามาเป็นเกมสมมติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ผ่านทางประสบการณ์ด้วยตนเอง สามารถได้ทดลอง ฝึกทักษะ ท้าทายความสามารถ หรือทดสอบสมมติฐานของตนเองในสถานการณ์เสมือนจริงประโยชน์ของ Simulation Games
นอกจากจะให้ความสนุกสนานและท้าทายในการเล่นแล้ว simulation games ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น การนำไปใช้งานทางด้านการนำไปฝึกอบรม
Simulation Game กับการฝึกอบรม
รูปแบบของการฝึกอบรมโดยใช้เกมสถานการณ์จำลองจะเป็นการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ ทำให้ผู้เรียนได้สังเคราะห์และค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยบทบาทของวิทยากรจะเป็น Facilitator หรือกระบวนกรผู้นำกระบวนการ นำเข้าสู่เกม อธิบายกติกา พาเล่น ท้าทายความคิด และสรุปข้อค้นพบ การฝึกอบรมแบบบรรยายหรือเลคเชอร์จะเน้นไปที่การสอน (Teaching) ของวิทยากร แต่การฝึกอบรมแบบใช้เกมจำลองจะเน้นไปที่การเรียนรู้ (Learning) ของผู้เรียน ดังนั้น การถ่ายทอดเนื้อหาจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเก่งของคนสอน แต่จะเป็นการแปลงเนื้อหาองค์ความรู้ที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสบการณ์ประสาทสัมผัส ไม่ใช่แค่ “ดูและฟัง” แต่ยัง “ได้ลงมือทำ” ที่สำคัญคือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในทีมอีกด้วย หลายครั้งสถานการณ์ในเหตุการณ์จริงมีความยุ่งยากซับซ้อน เป็นนามธรรม อธิบายได้ยาก หรือมีต้นทุนสูง หากมีเกมและหรือแบบจำลองเสมือนจริงมาให้ทดลองลงมือปฏิบัติจะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าตัวอย่างของ Simulation Game ที่นิยมใช้ เช่น เกมจำลองฝึกขับเครื่องบิน เกมจำลองธุรกิจ เกมตีกอล์ฟในห้องออกรอบเสมือนจริง เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมนำไปประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์ เช่น การฝึกหัดปฐมพยาบาลโดยใช้หุ่นผู้ป่วย การจำลองการผ่าตัด การฝึกซ้อมการใช้เครื่องมือแพทย์เพื่อให้เกิดความชำนาญ เป็นต้น การฝึกอบรมผ่านเกมจำลองอาจจะทำได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาประกอบการทำกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น กระดานเกม การ์ดเกม เหรียญ ลูกเต๋า ฯลฯ
Simulation Game เป็นทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นทั้งแบบฝึกหัดที่ใช้ทดสอบความสามารถไปด้วยในตัว ทั้งนี้ นอกจากผู้เรียนจะได้ค้นพบองค์ความรู้ในเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรแล้ว ผู้เรียนยังสามารถวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้ทันทีหลังจากที่จบการอบรม เพราะผลการเล่นหรือผลงานจากการลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จำลองจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลงานของผู้เล่นเมื่อจบเกม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น